ปลานิลจิตรลดาพั น ธุ์ปลาพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ปลาตลาดยอดนิยมความต้องการสูง

0
1340

ปลานิลจิตรลดา เป็นปลาพระราชทาน ที่มีจุดเด่นในการเลี้ยงง่าย โตไว เหมาะจะเผยแพร่สู่เกษตรกรให้นำไปเลี้ยงสร้างรายได้และอาชีพ สู่ความมั่นคงทางอาหารและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย

ดร.จรัลธาดา กรรณสูต อดีตอธิบดีกรมประมง กล่าวถึงที่มาของโครงการพัฒนาสายพั น ธุ์ปลานิลจิตรลดาว่า “หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 2489 ขณะนั้นประเทศไทยตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อันเป็นผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพั นปีหลวง พระราชทานโครงการพระราชดำริมากมายเพื่อบรรเทาทุ ก ข์ของประชาชน

รวมถึงโครงการพั น ธุ์ปลานิล ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแสวนห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปลาทิโลเปีย นิโลติกา (Tilapia Nilatica) จำนวน 50 ตัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต และได้พระราชทานลูกปลานิล 10,000 ตัว ให้กรมประมงได้ดำเนินการขยายพั น ธุ์และได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรเพื่อนำไปเพาะเลี้ยงตามพระราชประสงค์”

ภายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ทางประตูพระยมอยู่คุ้น ฝั่งถนนศรีอยุธยา จะมีบ่อปลา ตัวอย่าง จำนวน 3 บ่อ ที่เลี้ยงปลานิลไว้ในกระชัง ลักษณะของบ่อปลาเป็นบ่อดินมีขนาด 150 ตารางเมตร เลี้ยงแ ม่พั น ธุ์จำนวน 60 ตัว และพ่ อพั น ธุ์จำนวน 30 ตัว โดยการเลี้ยงเป็นไปอย่างเรียบง่าย เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็วด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงนำปลานิลไปขยายพั น ธุ์ต่อและแจกจ่ายให้กับเกษตรกร พร้อมพระราชทานนามว่า “ปลานิล” เพราะมีสีเทาๆ ดำๆ นับจากนั้น ปลานิลได้กลายเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมของคนไทยทั้งประเทศ สร้างความมั่นคงทางอาหารและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรและประชาชน นอกจากนี้ ยังเป็นปลาเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลด้วย
ไม่เพียงแต่การหาแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยมให้ปวงชนชาวไทยเท่านั้น พระองค์ยังทรงสอนถึงวิธีการจับปลาด้วยว่า ให้จับตัวเล็ก เพื่อที่จะได้มีแ ม่พั น ธุ์ไว้ขยายต่อไป เมื่อมีข่าวว่าประชาชนประสบภั ย พระองค์จะรับสั่งว่า “ที่ฉันเลี้ยงไว้ เอาไปช่วยได้ไหม” ทรงห่วงใยราษฎรอยู่เสมอ ดร.จรัลธาดา บอกเล่า

เมื่อปลานิลขยาย พั น ธุ์รวดเร็วและออกไข่จำนวนมาก ทำให้ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีตัวเล็ก ในปี พ.ศ. 2531 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงพัฒนาสาย พั น ธุ์ปลานิลให้มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมากขึ้น ทำให้มีปลานิลพั น ธุ์จิตรลดา 1 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปลานิลทั่วไป ให้ผลผลิตและอัตราการรอดเพิ่มขึ้น ต่อมาพัฒนาเป็นปลานิลสายพั น ธุ์จิตรลดา 2 ปลานิลสายพั น ธุ์จิตรลดา 3 และปลานิลสายพั น ธุ์จิตรลดา 4 จากนั้นได้พระราชทานให้เกษตรกรในเวลาต่อมา
สำหรับการเลี้ยงปลานิลมีหลายรูปแบบ นิยมกันมากคือ การเลี้ยงในบ่อดินและกระชั ง โดยมีข้อแตกต่างกันดังนี้
– บ่อดิน ต้นทุนในการเลี้ยงและลงทุนต่ำกว่าการเลี้ยงในกระชัง ปลาไม่ค่อยเ สี่ ย งต่อโ ร ค คือจะแข็งแรง แต่อาจติดเรื่องของกลิ่นส า บดินโคลนในตัวปลาบ้าง ซึ่งก็ไม่ได้เป็นทุกพื้นที่ที่เลี้ยง ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ การดูแลรักษาและการทำความสะอาดก่อนบริโภค
– กระชั ง การลงทุนในตอนแรกค่าใช้จ่ายอาจสูง เนื่องจากกระชั ง 1 ลูก ราคาขายก็สูงพอสมควร เลี้ยงในบริเวณที่เป็นแหล่งน้ำไหล อาจมีเ สี่ ย งต่อการติดโ ร คมาจากแหล่งน้ำที่ไหลผ่าน แต่จุดเด่นคือตัวปลาจะไม่มีกลิ่นอาหารของปลานิลนั้น สามารถกินได้ทั้งอาหารเม็ดและอาหารหมักจากพืชผักได้ ซึ่งหากให้อาหารหมักเสริมจะช่วยลดต้นทุนอาหารในการเลี้ยงปลานิลได้

คุณสนธิพั นธ์ บอกต่อว่า “ปัจจุบันตลาดปลานิลเป็นที่นิยม การเ พ า ะเลี้ยงลูกปลาในการขายให้เกษตรกรของกรมประมงเอง มากถึงปีละ 300 ล้านตัว ส่วนราคาขายเมื่อถึงวัยที่ปลานิลสามารถจำหน่ายได้ราคาเฉลี่ย 55-65 บาท ต่อกิโลกรัม โดยเฉลี่ย จนถึงราคาอาจสูงถึง 100 บาท ต่อกิโลกรัม ในบางพื้นที่ ทั้งนี้ปัจจัยขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการเพาะเลี้ยง และความต้องการของตลาดว่ามากน้อยขนาดไหน รวมไปถึงปลานิลออกสู่ตลาดมากหรือน้อยในแต่ละช่วงด้วย”
รู้ไหม เหตุใด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงไม่เสวยปลานิล ที่ไม่โปรดเสวยปลานิล ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญ กราบบังคมทูลถามว่า เหตุใดพระองค์จึงไม่โปรดเสวยปลานิล พระองค์จึงมีรับสั่งว่า “ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่ างไร”
แหล่งที่มา:https://www.sentangsedtee.com

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here