คุณพงษ์พัฒน์ เกษตรกรรุ่นใหม่ จ.มหาสารคาม เผยถึงเคล็ดลับการปลูกพืชหมุนเวียน โดยเริ่มจากแบ่งพื้นที่ปลูกออกเป็นเป็นแปลงย่อยๆ ในแต่ละแปลงจะถูกแบ่งเป็น 7 แถว เพื่อปลูกพืช 7 ชนิดสลับแถวกัน ได้แก่ หอมแบ่ง , ผักโขมแดง , ขึ้นฉ่าย , ผักสลัด , ผักบุ้ง , กะเพรา , โหระพา และ ผักอื่นๆตามแต่ฤดูกาล เช่น ผักพื้นบ้านที่มีความต้องการของตลาดในแต่ละช่วง และ ผักเครื่องเคียงต่างๆ
การนำพืชผักมาลงปลูกใน 1 แถว จะทยอยปลูกห่างกันแปลงละ 1 วัน ทำให้การปลูกพืช 7 ชนิด 7 แถวของแต่ละแปลง จะต้องปลูกห่างกัน 1 สัปดาห์ โดยให้เริ่มจากพืชมีอายุเก็บเกี่ยวนานที่สุดก่อน อย่ างเช่น
สัปดาห์ที่ 1 ปลูกผักขึ้นฉ่าย อายุเก็บเกี่ยว 60 วัน
สัปดาห์ที่ 2 ปลูกผักสลัด อายุเก็บเกี่ยว 50 วัน
สัปดาห์ที่ 3 ปลูกหอมแบ่ง อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน
สัปดาห์ที่ 4 ปลูกผักโขมแดง อายุเก็บเกี่ยว 35 วัน
สัปดาห์ที่ 5 ปลูกผักบุ้ง อายุเก็บเกี่ยว 25 วัน
สัปดาห์ที่ 6 ลงพืชที่เก็บผลผลิตได้ในระยะครึ่งปี เช่น กะเพรา โหระพา
สัปดาห์ที่ 7 ปลูกผักพื้นบ้าน เช่น สะระแหน่ พริก ผักเครื่องเคียงต่างๆ
สาเหตุที่ปลูกแบบนี้ เพราะว่าผักจะได้เวลาเก็บเกี่ยวพร้อมกันทุกชนิด ไม่ต้องห่วงว่าจะมีผลผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป จนทำให้เสียราคา
เมื่อเก็บเกี่ยวพืชผักแต่ละชนิดหมดแล้ว ให้พลิกดินกลบตอเดิมทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ทิ้งไว้ 3 วัน ให้เริ่มปลูกผักชนิดใหม่ทันที ( ยกเว้นกะเพรา โหระพา เก็บได้จนถึงอายุครึ่งปี ) และเมื่อเริ่มปลูกใหม่อย่ าปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำที่เดิม ให้ปลูกชนิดอื่นสลับกันไป เพื่อป้องกันโ ร คต่างๆ ในผัก และ เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในหน้าดิน คล้ายๆ กับการปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกถั่วลิสงหลังทำนา เพื่อช่วยบำรุงดินและเพิ่มแร่ธาตุในดิน
เราปลูกพืชหลายชนิดสลับกันแบบนี้ พืชจะอิงอาศัยกัน พึ่งพากัน ไม่แย่งสารอาหารตัวเดียวกัน ทำให้มีธาตุอาหารหมุนเวียนอยู่ในดินครวถ้วน พอเก็บเกี่ยวผลผลิต
เราสลับที่ปลูกอีก ดินก็ดีไม่เจอแต่พืชซ้ำๆในที่เดิม เพลี้ยอ่อนที่เคยจ้องเล่นงานขึ้นฉ่าย โ ร คใบจุดที่จับจองผักสลัด ราแป้งในผักบุ้ง โคนเ น่ าในหอม จะสับสน เพราะพืชแต่ละชนิดย้ ายที่ปลูกไปเรื่อยๆ สุดท้ายเลยแทบไม่มีโ ร คหรือแ ม ล งรบกวน ทำให้ไม่ต้องพึ่งสาร ช่วยลดต้นทุนในการปลูก
หากทำแบบนี้ได้ครบทุกแปลง จะมีผลผลิตให้เก็บขายตลอด 365 วัน หรือตลอดทั้งปี แบบไม่ต้องห่วงเรื่องราคาพืชผล เพราะ ต่อให้ผลผลิตบางชนิดในฤดูกาลนั้นราคาตกต่ำ ก็ยังมีพืชชนิดอื่นที่มาช่วยพยุงราคาไว้ เมื่อเฉลี่ยรายได้ออกมาแล้ว ทำให้ไม่ลดลงมากและที่สำคัญ เป็นการปลูกที่ช่วยลดต้นทุน เพราะ ลดค่าปุ๋ย ไปได้เยอะ
เขียนโดย วิถีชีวิตเกษตรพอเพียง